Image
เข้าสู่ระบบเว็บท่ากองทุนฯ
เข้าสู่ระบบเว็บท่ากองทุนฯ
คพรฟ.
ข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564



ที่มาของคณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.)


การบริหารเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ ให้สำนักงาน กกพ. ดำเนินการเพื่อให้มี คพรฟ. ขึ้นคณะหนึ่ง มีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 35 คน ตามที่ กกพ. กำหนด ประกอบด้วย ผู้แทนภาคประชาชน ผู้แทนภาครัฐ และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้มีผู้แทนภาคประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าสองในสามของคณะกรรมการทั้งหมด และให้มีผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน


ตัวอย่างการสรรหา คพรฟ.  ในกองทุนขนาดกลาง

(กรณีตัวอย่าง : กองทุนฯ มีพื้นที่ประกาศ 5 ตำบล และตำบล ก มีหมู่บ้านจำนวน 10 หมู่บ้าน
               1. คพรฟ. จำนวน 27 คน
                              o คพรฟ. ภาคประชาชน จำนวน 18 คน จาก 
                                             ตำบล ก = 4 คน 
                                             ตำบล ข = 3 คน
                                             ตำบล ค = 3 คน
                                             ตำบล ง = 2 คน
                                             ตำบล จ = 2 คน
                              o คพรฟ. ภาครัฐ  จำนวน 8 คน จาก
                                             ผู้ว่าราชการจังหวัดคัดเลือก  6 ด้าน ด้านละ 1 คน และอื่น ๆ 2 คน
                              o คพรฟ. ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 1 คน


อำนาจหน้าที่ ของ คพรฟ.


คุณสมบัติของ คพรฟ. ภาคประชาชน

               1. มีสัญชาติไทย
               2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ในวันรับสมัครต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
               3. มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ หรือที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ
               4. มีชื่อในทะเบียนบ้านที่อยู่ในพื้นที่ประกาศติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่ดำเนินการสรรหา
               5. ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ช่วยผู้ดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการที่ปรึกษาพรรคการเมือง

               6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
               7. ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
               8. ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
               9. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
               10. ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
               11. ไม่เคยเป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันดำเนินการสรรหา เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
               12. ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
               13. ไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนิติกรรมสัญญาที่ทำกับกองทุนพัฒนาไฟฟ้า                                                                                      

 คุณสมบัติของ คพรฟ. ผู้ทรงคุณวุฒิ

               1. มีสัญชาติไทย
               2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ในวันรับสมัครต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
               3. มีความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ ในด้านสังคม สาธารณสุข พลังงาน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจชุมชน การศึกษา การเงิน หรือด้านสื่อสาร
               4. มีชื่อในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ประกาศ
               5. ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือผู้ช่วยผู้ดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการที่ปรึกษาพรรคการเมือง
               6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
               7. ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
               8. ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
               9. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
               10. ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
               11. ไม่เคยเป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันได้รับการเสนอชื่อ เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
               12. ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
               13. ไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนิติกรรมสัญญาที่ทำกับกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

การดำรงตำแหน่งของ คพรฟ.

               กรรมการ คพรฟ. มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับประกาศแต่งตั้ง โดยดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ ความในวรรคนี้ไม่ให้ใช้บังคับกับกรรมการผู้แทนภาครัฐ

               ในวาระเริ่มแรก เมื่อครบกำหนด 2 ปี ให้กรรมการ คพรฟ. ในส่วนของภาคประชาชนออกจากตำแหน่งจำนวนกึ่งหนึ่งโดยวิธีจับสลาก หากจำนวนที่คำนวณได้มีเศษให้ปัดเศษทิ้งและให้ถือว่าการออกจากตำแหน่งดังกล่าวเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ทั้งนี้การดำเนินการจับสลากให้ดำเนินการล่วงหน้าตามสมควร

               กรรมการ คพรฟ. ที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการ คพรฟ. ขึ้นใหม่เพื่อให้มี กรรมการ คพรฟ. ปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง ให้ดำเนินการสรรหากรรมการ คพรฟ. ขึ้นใหม่ในภาคส่วนเดียวกัน เป็นการล่วงหน้าก่อนที่กรรมการ คพรฟ. ครบวาระ ตามสมควร

               ในกรณีที่กรรมการ คพรฟ. พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการ คพรฟ. ในภาคส่วนเดียวกันแทนภายใน 45 วันนับตั้งแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง และให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการ คพรฟ. ซึ่งตนแทน

               ในกรณีที่วาระของกรรมการ คพรฟ. เหลืออยู่น้อยกว่า 90 วัน จะไม่ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการ คพรฟ. แทนตำแหน่งที่ว่างลงก็ได้ และในการนี้ให้ คพรฟ. ประกอบด้วยกรรมการ คพรฟ. เท่าที่เหลืออยู่

               เมื่อกรรมการ คพรฟ. พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ทำการส่งมอบงานแก่กรรมการ คพรฟ. ที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ ตามวิธีการที่ กกพ. กำหนด

การพ้นตำแหน่งของ คพรฟ.

               1. ตาย
               2. ลาออก
               3. ย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านในพื้นที่ที่กำหนดเกิน 90 วัน
               4. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามของการเป็นกรรมการ คพรฟ.
               5. ขาดการประชุม 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
               6. ประธาน กกพ. มีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งตามมติ กกพ. หรือตามมติ คพรฟ. ไม่น้อยกว่าสองในสามของ คพรฟ. ที่เสนอให้ กกพ. พิจารณาให้พ้นจากตำแหน่งเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่อง ไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือมีส่วนได้ส่วนเสียในนิติกรรมสัญญาที่ทำกับกองทุนพัฒนาไฟฟ้า หรือหย่อนความสามารถ
               7. ผู้มีอำนาจเสนอแต่งตั้งตามข้อ 16 เสนอขอเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้แทนภาครัฐ
               8. ประธาน กกพ. มีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งตามมติ กกพ. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประเภทการบริหารงานกองทุน

การประชุม คพรฟ.
  • ประธาน คพรฟ. หรือกรรมการ คพรฟ. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 มีอำนาจในการเรียกประชุม
  • การประชุม คพรฟ. ต้องมีกรรมการเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่ และต้องมีกรรมการผู้แทนภาคประชาชนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการที่เข้าร่วมประชุม จึงถือเป็นองค์ประชุม
  • ถ้าประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธานในการประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในการประชุม
  • การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในการประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
  • การลงมติของที่ประชุมให้กระทำโดยเปิดเผย เว้นแต่เมื่อที่ประชุมเสียงข้างมากเห็นชอบให้ลงมติลับ
  • เลขานุการ หรือผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ออกหนังสือเชิญประชุม โดยแจ้งให้ คพรฟ. ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วัน และมีหน้าที่บันทึกการประชุม และส่งรายงานการประชุมให้ คพรฟ.

 

Image
ที่อยู่
319 อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 20 ถนนพญาไท
แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

ติดต่อเรา
โทร : 0 2207 3599 ต่อ 344
โทรสาร : 0 2207 3572
Call Center : 1204
สงวนสิทธิ์ 2559 © กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)
Top